ข้อบังคับสมาคมผู้สื่อข่าวส่งเสริมเอสเอ็มอีไทย

————————-

หมวดที่ 1

ความทั่วไป

ข้อ 1     สมาคมนี้มีชื่อว่า “สมาคมผู้สื่อข่าวส่งเสริมเอสเอ็มอีไทย” ใช้ชื่อย่อว่า “ขสอ.” เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า

“Thai SME Promotion Press Association”

ข้อ 2     เครื่องหมายของสมาคม  

            สีน้ำเงิน หมายถึง ความรู้ ความน่าเชื่อถือ สมาคมแห่งนี้เป็นขุมทรัพย์แห่งความรู้ และมีความน่าเชื่อถือ

ที่ประกอบด้วยบุคลากรมืออาชีพ 

            สีเขียวน้ำทะเล หมายถึง พลังแห่งการปกปักษ์รักษา ช่วยส่งเสริมผู้อื่น และปกปักษ์คุ้มครอง         เหล่าสมาชิกสมาคมในทางสัมมาชีพ

ข้อ 3     สำนักงานใหญ่ของสมาคม ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 190/4 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 24 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700

ข้อ 4     วัตถุประสงค์ของสมาคม เพื่อ

            4.1 ส่งเสริมและเป็นเวทีกลางให้สื่อมวลชนร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน

            4.2 เป็นเวทีกลางในการให้ความรู้ และส่งเสริมการพัฒนาด้านธุรกิจ และเทคโนโลยี

            4.3 พัฒนาและให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SME) สตาร์ทอัพ (Startup) และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน     

                 ให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจและเติบโตอย่างยั่งยืน

            4.4 ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ มีธรรมาภิบาล และมีความรับผิดชอบ

                ต่อสังคม

            4.5 ส่งเสริม สนับสนุน ร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์

            4.6  ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด

หมวดที่ 2

สมาชิก

ข้อ 5     สมาชิกของสมาคม มี 3 ประเภท คือ

            5.1 สมาชิกสามัญ ได้แก่ ผู้ที่เป็นผู้สื่อข่าวเอสเอ็มอี เศรษฐกิจ ธุรกิจ หรือการตลาด มาแล้วอย่างน้อย     6 เดือน

            5.2 สมาชิกสมทบ ได้แก่ บุคคลทั่วไปที่เป็นเจ้าของสินค้าเอสเอ็มอี ธุรกิจสตาร์ทอัพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

                 หรือผู้ประกอบการรายย่อย หรือผู้สื่อข่าวประจำสายอื่น ๆ ที่ประสงค์จะเข้าร่วมกิจกรรมของสมาคม

            5.3 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติ หรือทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีอุปการคุณแก่สมาคม

                 ซึ่งคณะกรรมการลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม

ข้อ 6   สมาชิกจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

            6.1 เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว

            6.2 เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย

            6.3 ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ

            6.4 ไม่ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถ หรือเสมือน

                 ไร้ความสามารถ หรือต้องโทษจำคุก ยกเว้นความผิดฐานประมาท หรือลหุโทษการต้องคำพิพากษา

                 ของศาลถึงที่สุด ในกรณีดังกล่าวจะต้องเป็นในขณะที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกหรือในระหว่างที่เป็น

                สมาชิกของสมาคมเท่านั้น

ข้อ 7   ค่าลงทะเบียน และค่าบำรุงสมาคม

            7.1 สมาชิกสามัญ       ต้องเสียค่าลงทะเบียนแรกเข้ารายละ                                   300.-บาท

                        และเสียค่าบำรุงสมาคมเป็นรายปี ๆ ละ                300.-บาท

            7.2 สมาชิกวิสามัญ      มิต้องเสียค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมแต่อย่างใดทั้งสิ้น

            7.3 สมาชิกกิตติมศักดิ์  มิต้องเสียค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมแต่อย่างใดทั้งสิ้น

ข้อ 8   การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมยื่นใบสมัคร   ตามแบบของสมาคมต่อนายทะเบียน โดยมีสมาชิกสามัญรับรองอย่างน้อย 1 คน และให้เลขาธิการติดประกาศรายชื่อผู้สมัครไว้ ณ สำนักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน เพื่อให้สมาชิกอื่น ๆ ของสมาคม จะได้คัดค้านการสมัครนั้น เมื่อครบกำหนดประกาศแล้วก็ให้เลขาธิการนำใบสมัครและหนังสือคัดค้านของสมาชิก (ถ้ามี) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติว่าจะรับหรือไม่รับเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม               และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาการสมัครแล้ว ผลเป็นประการใดให้เลขาธิการเป็นผู้แจ้งให้ผู้สมัครทราบโดยเร็ว

ข้อ 9   ถ้าคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก ก็ให้ผู้สมัครนั้นชำระเงินค่าลงทะเบียน

และค่าบำรุงสมาคมให้เสร็จ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเลขาธิการ และสมาชิกภาพของผู้สมัคร

ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้สมัครได้ชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าผู้สมัครไม่ชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงภายในกำหนด ก็ให้ถือว่าการสมัครคราวนั้นเป็นอันยกเลิก

ข้อ 10  สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์ ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่หนังสือตอบรับคำเชิญของผู้ที่คณะกรรมการ       ได้พิจารณาลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ได้มาถึงยังสมาคม

ข้อ 11   สมาชิกภาพของสมาชิกให้สิ้นสุดลงด้วยเหตุดังต่อไปนี้

            11.1 ตาย

            11.2 ลาออก โดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ และคณะกรรมการได้พิจารณาอนุมัติ

                และสมาชิกผู้นั้นได้ชำระหนี้สินที่ยังติดค้างอยู่กับสมาคมเป็นที่เรียบร้อย

            11.3 ขาดคุณสมบัติสมาชิก

            11.4 ที่ประชุมใหญ่ของสมาคม หรือคณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียน

                   เพราะสมาชิกผู้นั้นได้ประพฤตินำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคม

ข้อ 12   สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

            12.1 มีสิทธิเข้าใช้สถานที่ของสมาคมโดยเท่าเทียมกัน

            12.2 มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมต่อคณะกรรมการ

            12.3 มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น

            12.4 มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม

            12.5 สมาชิกสามัญมีสิทธิในการเลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งเป็นกรรมการสมาคม

                   และมีสิทธิออกเสียงลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมได้คนละ 1 คะแนนเสียง

            12.6 มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคม

12.7 มีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมดร้องขอต่อคณะกรรมการ

 ให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้

            12.8 มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ และข้อบังคับของสมาคมโดยเคร่งครัด

            12.9 มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคม

            12.10 มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสมาคม

            12.11 มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น

            12.12 มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

หมวดที่ 3

การดำเนินการสมาคม

ข้อ 13   ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งทำหน้าที่บริหารกิจการของสมาคมมีจำนวนอย่างน้อย 9 คน อย่างมาก   ไม่เกิน 15 คน คณะกรรมการนี้ต้องเป็นสมาชิกสามัญที่ได้มาจากการเลือกของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม และให้ผู้ที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ เลือกกันเองเป็นนายกสมาคม 1 คน และ อุปนายก 1 คน  สำหรับกรรมการ      ในตำแหน่งอื่น ๆ ให้นายกสมาคมเป็นผู้แต่งตั้ง ผู้ที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่เข้าดำรงตำแหน่งต่าง ๆ           ของสมาคมตามที่ได้กำหนดไว้ซึ่งตำแหน่งของกรรมการสมาคมมีตำแหน่งและหน้าที่โดยสังเขป ดังต่อไปนี้

            13.1 นายกสมาคม         ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคมเป็นผู้แทนสมาคม

                                                ในการติดต่อกับบุคคลภายนอกและทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม

                                                คณะกรรมการ และการประชุมใหญ่ของสมาคม

13.2 อุปนายก   ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการสมาคมปฏิบัติตาม

            หน้าที่ ที่นายกสมาคมได้มอบหมายและทำหน้าที่แทนนายกสมาคมเมื่อนายกสมาคม ไม่อยู่หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่การทำหน้าที่แทนนายกสมาคมให้อุปนายกตามลำดับตำแหน่งเป็นผู้กระทำการแทน

13.3 เลขาธิการ  ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมด เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของสมาคมในการปฏิบัติกิจการของสมาคมและปฏิบัติตามคำสั่งของนายกสมาคม ตลอดจนทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมต่าง ๆ ของสมาคม

13.4 เหรัญญิก   มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย             บัญชีงบดุลของสมาคมและเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของสมาคมไว้            

            เพื่อตรวจสอบ

13.5 ปฏิคมมีหน้าที่ในการให้การต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ของสมาคมและจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่าง ๆ ของสมาคม

13.6 นายทะเบียนมีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของสมาคมประสานงานกับเหรัญญิกในการเรียกเก็บเงินค่าบำรุงสมาคมจากสมาชิก

13.7 กรรมการตำแหน่งอื่น ๆ  ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้น

                                    โดยมีจำนวนเมื่อรวมกับตำแหน่งกรรมการตามข้างต้นแล้ว จะต้อง

                                    ไม่เกินจำนวนที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้ แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้

                                    กำหนดตำแหน่งก็ถือว่าเป็นกรรมการกลาง

ข้อ 14   คณะกรรมการของสมาคมสามารถอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 2 ปี และเมื่อคณะกรรมการอยู่ในตำแหน่งครบกำหนดตามวาระแล้ว แต่คณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนจากทางราชการก็ให้คณะกรรมการที่ครบกำหนดตามวาระรักษาการไปพลางก่อนจนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่จะได้รับการ          จดทะเบียนจากทางราชการ และเมื่อคณะกรรมการชุดใหม่ได้รับการจดทะเบียนจากทางราชการ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการส่งและรับมอบงานกันระหว่างคณะกรรมการชุดเก่าและคณะกรรมการชุดใหม่ให้เป็นที่เสร็จสิ้น ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการชุดใหม่ได้รับการจดทะเบียนจากทางราชการ

ข้อ 15   ตำแหน่งกรรมการสมาคม ถ้าต้องว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระก็ให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิก สามัญคนใดคนหนึ่งที่เห็นสมควรเข้าดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างลงนั้น แต่ผู้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น และถ้าเป็นตำแหน่งนายกสมาคมว่างก็ให้คณะกรรมการ     เลือกกันเองเป็นนายกสมาคม

ข้อ 16   กรรมการอาจจะพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้ คือ

            16.1  ตาย

            16.2  ลาออก

            16.3  ขาดจากสมาชิกภาพตามข้อบังคับและตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้

            16.4  ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออกจากตำแหน่ง

            16.5  เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสียและคณะกรรมการสมาคมมีมติให้ออก

                     โดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของคณะกรรมการของสมาคม

ข้อ 17   กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งกรรมการให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษร                

ต่อคณะกรรมการและคณะกรรมการมีมติให้ออก

ข้อ 18   อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ

            18.1 มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้อง                  

                 ไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้

            18.2 มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม

            18.3 มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการได้ แต่กรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการ

                        จะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง

            18.4 มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี และประชุมใหญ่วิสามัญ

            18.5 มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่น ๆ ที่ยังมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

            18.6 มีอำนาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีอำนาจอื่น ๆ

                         ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้

            18.7  มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงินและทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม

          18.8  มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามที่สมาชิกสามัญ จำนวน 1 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมด

                        ได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญขึ้น ซึ่งการนี้จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่ วิสามัญขึ้น

                        ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ

            18.9  มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สินและการดำเนินกิจกรรม            ต่าง ๆ ของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถจะให้สมาชิกตรวจดูได้เมื่อสมาชิก                    ร้องขอ

            18.10 จัดทำบันทึกการประชุมต่าง ๆ ของสมาคม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิก

                    ได้รับทราบ

            18.11  มีหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้

ข้อ 19   คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม

ข้อ 20   การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด        จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้ประธานในการประชุมเ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *